อธิบายประกันวินาศภัยแบบต่างๆ เงื่อนใขความคุ้มครองให้ลูกค้าเลือก
นายหน้าประกันวินาศภัย Insurance Broker
อาชีพเสริม รายได้เสริม อาฃีพอิสระ
ชี้ช่อง
ทำประกันกับบริษัท
โดยจัดการให้ลูกค้าเตรียมข้อมูล เอกสาร วิธีการชำระเงิน
ได้รับบำเหน็จ
ในรูปแบบ % ค่าคอมมิสชั่น หรือ รางวัลในรูปแบบต่างๆ

ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ดีไหม
5 เหตุผลลำคัญทำไมธุรกิจนี้ยังโตแม้ยามวิกฤต

นายหน้าประกันวินาศภัย คือ ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทโดยกระทำเพื่อบำเหน็จเนื่องจากการนั้น
ตลาดประกันวินาศภัย 233 090 ล้านบาท มูลค่าตลาดปี 2561 6.7 การเติบโตเทียบปี 2561 กับ 2560
1. ตลาดขนาดใหญ่และเติบโตต่อเนื่อง
- มูลค่าตลาดสูงปี 2018 สูงถึง 230 000 ล้านบาท
- อัตราการเติบโตถึง – %
- สินค้ามีการซ้ำทุกปี กฎหมายบังคับให้ทำ พรบ.รถยนต์
- ภาครัฐให้การส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
2. สินค้าหลากหลาย สร้างรายได้ต่อเนื่อง
- ขายสินค้าได้ทุกบริษัท ไม่จำเพาะที่ใดที่หนึ่ง
- สินค้าไม่ใช่แค่ ประกันภัยรถยนต์ พรบ.รถยนต์ ซึ่งซื้อปีละครั้ง
- ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ให้ความคุ้มครอง สุขภาพ อัคคีภัย น้ำท่วม เป็นต้น
3. จำกัดคนขาย
- เฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาติหรือบัตรนายหน้าประกันวินาศภัยเท่านั้น
- สอบและอบรมรับบัตรกับ สำนักงาน คปภ.
- ทำให้การแข่งขันอยู่ในวงจำกัด
4. ไม่มีสินค้าทดแทน
- ยังคงไม่มีสินค้าใดที่ทดแทนความคุ้มครองได้เหมือนประกันวินาศภัย
- ถึงแม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไป 4G 5G ก็ตาม
- สร้างความมั่นคงในธุรกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
5. การทำงานไม่ยุ่งยาก
- ทำคู่กับงานประจำหรือธุรกิจที่ทำอยู่ได้สะดวก
- ไม่ต้องสต็อกสินค้า ไม่ต้องแพ็คของ ไม่ต้องเดินทางไปส่งของ
- ทำออนไลน์ได้ หรือจะมีหน้าร้านก็ยิ่งดี
- ทำคนเดียวก็เริ่มต้นได้
- มี 3 ขั้นตอนทำงาน เรียนรู้ – ทำจริง – สอนต่อ
ธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยทำอย่างไรให้สำเร็จ
3 ขั้นตอนทำงานจากก้าวแรกพัฒนาไปสู่การเป็นมืออาชีพ
start here !
เริ่มต้น
เริ่มต้นธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยโดย เปิดรหัสทำงานร่วมกับบริษัท มี 2 ทางเลือกคือ
- เปิดรหัสส่งงานตรงกับบริษัทประกันวินาศภัย เช่น เปิดรหัสกับ วิริยะ, ทิพย, อาคเนย์ เป็นต้น โดยต้องวางเงินมัดจำหรือหาคนค้ำรับรองกับแต่ละแห่งดังกล่าว
- เปิดรหัสส่งงานผ่านบริษัทโบรคเกอร์ประกันวินาศภัยต่างๆ เช่น ศรีกรุงโบรคเกอร์ เป็นต้น โดยไม่ต้องวางเงินมัดจำหรือไม่ต้องหาคนค้ำรับรองแต่อย่างใด
- บริษัทประกัน กับ โบรคเกอร์ประกันต่างกันยังไง
- ตัวแทน กับนายหน้า
- เลือกโบรคเกอร์ไหนดี
- คุณสมบัติ
1
เรียนรู้
เรียนรู้ภาพกว้าง ประกันวินาศภัยแต่ละประเภท ความคุ้มครอง กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติการขาย ไม่ใช่แค่เพื่อสอบบัตรนายหน้าให้ผ่าน แต่ยังเพื่อนำไปใช้ในการทำงานจริง
1. ทำความเข้าใจพื้นฐาน
สินค้ามีอะไรบ้าง มีบริษัทอะไรบ้าง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รู้จัก คปภ.
2. สมัตรสอบ และสอบ
สมัครยังไง แนวข้อสอบ
3. อบรมรับบัตร
4. รับบัตร
5. ต่ออายุบัตร
2
ทำจริง
ขั้นตอนที่ 2 ทำจริง รับรายได้จริง เริ่มจากทำความเข้าใจประกันของแต่ละแพคเกจแต่ละบริษัท เข้าใจเงื่อนใขการทำงาน เช็คเบี้ย แจ้งงาน กับที่ทำงานร่วมกัน
1. ทำความเข้าใจ
กรมธรรม์
2. ทำการตลาด
ลูกค้าคนแรก ปัจจัยเลือกซื้อ
3. เช็คเบี้ย นำเสนอ
วิธีเลือกบริษัท เอกสารเช็คเบี้ย
4. แจ้งงาน
เอกสารแจ้งงาน ช่องทางชำระเงิน
5. งานหลังการขาย
เลขรับแจ้ง หมายเลขแจ้งเหตุ
3
สอนต่อ
ขั้นตอนที่ 3 สอนต่อ นำความรู้และประสบการณ์ แนะนำสอนต่อให้กับผู้สนใจ
1. ทำความเข้าใจ แผนการจ่ายผลตอบแทน
2. ทำการตลาด
3. สอนต่อ
FAQ
คำถามที่ถามบ่อยกับธุรกิจ นายหน้าประกันวินาศภัย
ตัวอย่าง ขายกรมธรรม์รถยนต์ 1 คัน 20,000 บาท ได้ค่าคอม 2,000 บาทต่อคันเป็นต้น ขายมากได้มาก
กรณีเปิดรหัสสมาชิกกับโบรคเกอร์ จะมี
- ค่าสมัครสมาชิก 0 – 200บาท (บางโบรคเกอร์จะสมัครฟรี)
- ค่าสมัครสอบ 200 บาท
- ค่าอบรมรับบัตร 1,600 บาท
- ค่าทำบัตร 300-800 บาท
- เป็นต้น
กรณีเปิดรหัสตรงกับบริษัท นอกจากค่าใช่จ่ายข้างต้นแล้ว ยังมีต้องวางเงินมัดจำ และหาคนค้ำรับรอง เพิ่มอีก
เปิดรหัสกับโบรคเกอร์ประกัน ที่จะวางเงินมัดจำแทนคุณ และจัดเตรียมระบบต่างๆไว้คอยสนับสนุน
ทุกที่ล้วนมีจุดเด่นจุดขาย เช่น ค่าคอมสูง มีอบรมครบวงจร จัดส่งกรมธรรม์เร็ว มีแผนรายได้ที่ยกเป็นมรดกได้ เป็นต้น สอบถามคนที่ทำอยู่ในวงการจะได้คำตอบ
ได้ไม่จำกัด ไม่มีข้อบังคับ
เพื่อเป็นการปรับความรู้พื้นฐานก่อนเริ่มธุรกิจและเป็นข้อกำหนดจาก คปภ.
บางบริษัท บางโบรคเกอร์ มีจัดติวสอบ รับสมัครสอบบัตร ให้กับเฉพาะสมาชิก
ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ทุกคนเริ่มต้นเหมือนกันหมดคือ สอบบัตรนายหน้า
เริ่มจากตัวเราเองหัดเลือกซื้อก่อนจากคนใกล้ตัว แล้วทำตลาดออนไลน์
ทำได้โดยคุยผ่านแชท ผ่านทางไลน์ ช่วงเวลาที่สะดวก
ไม่ต้องออกไปทำเคลมที่เกิดเหตุ เป็นหน้าที่ของบริษัท ส่วนนายหน้าจะให้คำปรึกษาเรื่องความคุ้มครอง การเคลม เป็นต้น
จุดด้อยคือจะได้กำไรไม่มาก เช่นขายกรมธรรม์รถยนต์ชั้น1 จะได้ไม่เกิน 18% เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ เช่น เปิดร้านขายอาหาร ขายเครื่องดื่ม ขายอาหารเสริม เครื่องสำอางค์ เป็นต้น
ต้องเรียนรู้เยอะมาก และต้องอัพเดทตัวเองตลอดเวลา
ช่วงเริ่มต้นรายได้น้อย ตามประสบการณ์ความชำนาญที่ยังไม่เยอะ ทำให้หลายคนออกจากธุรกิจไป